กระบวนการและขั้นตอนสหกิจศึกษา

1. การรับสมัครนักศึกษาสหกิจศึกษา
     ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ ส่งเอกสารแบบแจ้งรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา(COOP-02) ให้กรรมการคณะแต่ละคณะ เพื่อแจกให้นักศึกษาทุกสาขาวิชา ยื่นคำร้องสมัครเข้าเป็นนักศึกษาหลักสูตรสหกิจศึกษากรอกเข้าร่วมโครงการล่วงหน้าก่อน 1 ภาคการศึกษา

2. การคัดเลือกและจำแนกสภาพนักศึกษานักศึกษาสหกิจศึกษา
     อนุกรรมการประจำสาขาวิชา พิจารณา(COOP-02) ในส่วนที่ 2 ว่านักศึกษา มีความพร้อมที่จะออกปฏิบัติงานหรือไม่ โดยยึดหลักการและเงื่อนไขต่างๆ ที่แต่ละสาขาวิชากำหนด
ถ้าพร้อมให้ดำเนินงานตามขั้นตอนต่อไป
ถ้าไม่พร้อมให้รอดำเนินการในภาคการศึกษาต่อไป
ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ รับแบบแจ้งรายละเอียดการเข้าโครงการสหกิจศึกษาคืนจากกรรมการคณะแต่ละคณะตามกำหนดเวลาดังนี้
ภายในเดือนสิงหาคม สำหรับนักศึกษาที่จะเข้าร่วมในภาคเรียนที่ 2
ภายในเดือนธันวาคม สำหรับนักศึกษาที่จะเข้าร่วมในภาคเรียนที่ 1

3. การเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนออกปฏิบัติงานสหกิจ
     3.1. ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ จัดปฐมนิเทศให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา เพื่อชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติงานในรูปแบบสหกิจศึกษา ตามกำหนดเวลาดังนี้
ภายในเดือนกันยายน สำหรับนักศึกษาที่จะเข้าร่วมในภาคเรียนที่ 2
ภายในเดือนมกราคม สำหรับนักศึกษาที่จะเข้าร่วมในภาคเรียนที่ 1
     3.2. ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ ทำการจัดอบรมสัมมนานักศึกษาสหกิจก่อนออกปฏิบัติงานในหัวข้อต่างๆ เพื่อเพิ่มระสิทธิภาพให้กับนักศึกษา
หมายเหตุ นักศึกษาสหกิจ ต้องเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพจัดขึ้นทุกครั้ง ถ้าไม่ครบถือว่านักศึกษา หมดสิทธิการออกปฏิบัติงาน

4. การเลือกสมัครงาน
     4.1.  สำรวจความต้องการของสถานประกอบการ  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ ทำการสำรวจความต้องการของสถานประกอบการ ที่ต้องการรับนักศึกษาเข้าปฏิบัติงาน โดยออกทำการตลาดและส่งจดหมายเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการสหกิจศึกษา และชี้แจงข้อดีในการรับสมัครนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานพร้อมทั้งมอบแบบเสนอ(COOP-03) ไว้ให้สถานประกอบการพิจารณา และรวบรวมรายชื่อสถานประกอบการโดยแยกประเภท และเขตที่ตั้งในแบบฟอร์ม (COOP-01)
     4.2.  รับแจ้งรายละเอียดของสถานประกอบการจากนักศึกษาหาสถานประกอบการเอง และมอบแบบเสนองาน(COOP-03) ไว้ให้นักศึกษาเพื่อนำไปให้สถานประกอบการกรอกรายละเอียด
     4.3.  รับแบบเสนองาน  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ รับแบบเสนองาน(COOP-03) ทั้งที่ตอบรับและตอบปฏิเสธจากสถานประกอบการว่าต้องการรับนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานสาขาวิชาใดมีลักษณะงานอย่างไร  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ รับแบบเสนอาน(COOP-03) คืนจากนักศึกษากรณีที่นักศึกษาหาสถานประกอบการเอง
     4.4.  รับสมัครงานและคัดเลือกนักศึกษาสหกิจศึกษา  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ ประกาศแจ้งให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ สหกิจศึกษา เลือกสถานประกอบการและลักษณะงานที่นักศึกษาต้องการคนละ 1 แห่ง ที่หน้าสำนักงานศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ โดยทำการเสมือนการไปสมัครเข้าทำงานจริง (COOP-04) กับสถานประกอบการนั้นๆ
     4.5.  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ รวบรวมใบสมัครงาน(COOP-02) จากนักศึกษาและคัดเลือกนักศึกษาสหกิจศึกษาตามแนวทาง ดังนี้
     ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ  ส่งใบสมัครงาน(COOP-04) ไปยังสถานประกอบการเพื่อพิจารณา ในกรณีที่สถานประกอบการมีความต้องการคัดเลือกนักศึกษาเอง
     ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพร่วมกับอนุกรรมการประจำสาขาวิชาทำการคัดเลือกนักศึกษาตามความเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน
ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ แจ้งผลการคัดเลือกให้นักศึกษาทราบและทำการหาสถานประกอบการสำหรับนักศึกษาที่ไม่มีสถานประกอบการโดยเร็วที่สุด

5. การเตรียมตัวและการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ
     5.1.  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพประสานงานกับอนุกรรมการประจำสาขเพื่อแจ้งให้นักศึกษาไปรายงานตัวที่สถานประกอบการ
     5.2.  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ ประสานงานกับสถานประกอบการให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันรายงานตัว
     5.3.  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มอบหนังสือส่งตัวนักศึกษาสหกิจและหนังสือสัญญาเข้ารับการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาให้นักศึกษาเพื่อไปรายงานตัว

6. กิจกรรมระหว่างปฏิบัติงาน
     6.1.  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ รับเอกสาร COOP-05, COOP-06 จากนักศึกษา
     สัปดาห์ที่ 1  COOP-05 แจ้งสถานที่ปฏิบัติงาน ชื่อพนักงานที่ปรึกษาที่ได้รับมอบหมายและเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อกับนักศึกษาและพนักงานที่ปรึกษา
     สัปดาห์ที่ 3  COOP-06 แบบแจ้งโครงร่างรายงานและแผนการปฏิบัติสหกิจ รายงานให้ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ และส่งรายงานก่อนสิ้นสุดการฝึกงานสหกิจศึกษา
     6.2.  นักศึกษาสหกิจจะต้องส่งรายงานที่เสร็จสมบูรณ์ ให้กับพนักงานที่ปรึกษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน

7. การนิเทศงานสหกิจศึกษา
     7.1.   ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพประสานงานกับอาจารย์นิเทศ และสถานประกอบการเพื่อกำหนดวัน เวลาที่จะไปนิเทศนักศึกษา
     7.2.  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพรวบรวมประวัติข้อมูลต่างๆ ของนักศึกษาและหน่วยงานมอบให้อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา ก่อนวันเดินทาง
     7.3.  อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา/นิเทศงาน ออกนิเทศนักศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้งต่อนักศึกษาหนึ่งคน ในกรณีที่นักศึกษามีปัญหา การออกนิเทศควรจะไปหลังรับ COOP-05, COOP-06 ไม่เกิน 1 สัปดาห์ อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา/นิเทศงาน ตรวจสอบคุณภาพงานพร้อมทั้งบันทึกรายงานที่สถานประกอบการมอบหมาย (COOP-07) ให้คำปรึกษา และช่วยแก้ไขปัญหาทางวิชาของนักศึกษา
     7.4.  อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา/นิเทศงาน ส่งแบบประเมินคืนศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ หลังกลับจากนิเทศงาน ภายใน 1 สัปดาห์

8. กิจกรรมภายหลังเสร็จการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ
     8.1.  นักศึกษาส่งรายงานการปฏิบัติสหกิจศึกษามายังศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ
     8.2.  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพรวบรวมและประสานงานกับกรรมการคณะและอนุกรรมการสาขาวิชาต่างๆ จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบกาณ์ของนักศึกษา ภายใน 1 สัปดาห์หลังกลับจากปฏิบัติงาน
     8.3.  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ รับแบบประเมินผลจากพนักงานที่ปรึกษา(COOP-08)ซึ่งนักศึกษาถือกลับมาเอง โดยใส่ซองปิดผนึก

9. การประเมินผลรายวิชาสหกิจศึกษา
     9.1.  อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา ประเมินผลรายงานการปฏิบัติงานสหกิจ ในแบบฟอร์มCOOP-09 และส่งกลับศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ
     9.2.  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพรวบรวมคะแนนผลการประเมิน(COOP-07, COOP-08, COOP-09)
     9.3.  ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ ตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาและรวบรวมเอกสารทั้งหมดให้อนุกรรมการสาขาวิชาพิจารณา
     9.4.  อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาพิจารณาคะแนนโดยระบบ S (Satisfactory – ผ่าน) และ U (Unsatisfactory – ไม่ผ่าน)
     9.5.  อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาส่งระดับคะแนนรายวิชาสหกิจศึกษา ให้กับหัวหน้าสาขาวิชารวบรวมลงนามแล้ว แจ้งผลไปยังสำนักทะเบียนและประมวลผล
กรณีที่นักศึกษาไม่ผ่านการประเมินผล ให้ทางคณะกรรมการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ พิจารณา