ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนการสอนรายวิชาสหกิจศึกษา นักศึกษาสหกิจศึกษาจะได้รับ 1. ได้เรียนรู้และรับประสบการณ์วิชาชีพตามสาขาที่เรียนเพิ่มเติม นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน ซึ่งนักศึกษามาสามารถเรียนรู้ได้ในห้องเรียนปกติ 2. ได้มีโอกาสเรียนรู้ลักษณะงานและเลือกงานในสายวิชาชีพของตนเองได้ถูกต้อง 3. ได้เสริมทักษะด้านการนำเสนอ การสื่อสารข้อมูล การมีมนุษยสัมพันธ์และเกิดการเรียนรู้ การพัฒนาตนเอง การทำงานร่วมกับผู้อื่น 4. นักศึกษามีความรับผิดชอบ และความมั่นใจตนเองมากขึ้น มีความพร้อมรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย 5. มีผลการเรียนดีขึ้น เพราะว่าเข้าใจวิชาที่เรียนเร็วขึ้นและการนำไปประยุกต์ใช้ 6. ได้รับค่าตอบแทนจากสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต 7. เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีศักยภาพในการทำงาน 8. มีโอกาสได้รับการคัดเลือกเข้าทำงานก่อนสำเร็จการศึกษามากกว่านักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อน อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาและมหาวิทยาลัยฯ จะได้รับ 1. ทำให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 2. มหาวิทยาลัยมีการสร้างเครือข่ายร่วมกับสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตภายนอก เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสู่ตลาดแรงงาน 3. มหาวิทยาลัยได้รับข้อมูลย้อนกลับ เพื่อนำมากำหนดหรือพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน 4. เป็นการเพิ่มศักยภาพของอาจารย์และเพิ่มประสบการณ์ในภาคปฏิบัติ และสามารถนำปัญหาที่เกิดขึ้นจริงมาประยุกต์ให้เป็นปัญหาหรือประเด็นศึกษาในห้องเรียนได้ 5. สามารถบูรณาการโดยการนำประสบการณ์ในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทำงานวิจัยได้ 6. อาจารย์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น สามารถรับเป็นที่ปรึกษาให้กับสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตที่นักศึกษาไปปฏิบัติงานได้ สถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตจะได้รับ 1. ทำให้เกิดความร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันการศึกษา 2. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคุณภาพบัณฑิต 3. ลดการจ้างพนักงานประจำ เพราะว่ามีแรงงานนักศึกษาทำงานเสริมตลอดปี ซึ่งเป็นผู้มีความกระตือรือร้นและความรู้ในระดับหนึ่ง 4. เจ้าหน้าที่หรือพนักงานประจำในสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตจะมีเวลามากขึ้นที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่อื่นที่สำคัญมากกว่า และสามารถถ่ายทอดทักษะ ประสบการณ์ให้นักศึกษาด้วย 5. เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยคัดเลือกบัณฑิตเข้าเป็นเจ้าหน้าที่หรือพนักงานประจำในอนาคต โดยไม่จำเป็นต้องมีการทดรองปฏิบัติงานก่อน ส่งผลทำให้สถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตมีต้นทุนในการคัดเลือกเจ้าหน้าที่หรือพนักงานประจำที่ลดลง |